วลีภาษาญี่ปุ่นที่ผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาลใช้ในการสนทนากับผู้สูงอายุ

วลีภาษาญี่ปุ่นที่ผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาลใช้ในการสนทนากับผู้สูงอายุ

การเรียนรู้วลีที่ใช้บ่อยจะทำให้การสื่อสารกับผู้สูงอายุเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงอาการผิดปกติได้เร็วขึ้น ทั้งยังเป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกับพนักงานคนอื่น ๆ อีกด้วย

Contents:

วลีที่ใช้ในการทักทายผู้สูงอายุ

  • Shitsurei shimasu. (ขอเข้าไปนะครับ/คะ) และ Shitsurei shimashita. (ขอตัวก่อนนะครับ/คะ)

วลีทั้งสองนี้ใช้พูดก่อนเข้าไปและออกจากห้องพักของผู้สูงอายุเพื่อการดูแล

ห้องพักของผู้สูงอายุถือเป็นพื้นที่ส่วนตัว ควรทักทายก่อนเข้าไปและออกจากห้อง

 

  • Kinou wa yoku nemuremashita ka? (เมื่อวานนอนหลับสนิทไหมครับ/คะ)
  • Taichou, Okawari arimasen ka? (มีอาการผิดปกติอะไรไหมครับ/คะ)

การใช้วลีเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงอาการผิดปกติของผู้สูงอายุในทุก ๆ วัน

 

  • 〜shite itadakemasu ka? (รบกวนช่วยทำ 〜 ได้ไหมครับ/คะ)
  • 〜wa tetsudaimasu no de, 〜wa go jibun shite itadakemasu ka? (จะช่วยทำ 〜 ให้นะครับ/คะ ส่วน 〜 จะทำเองไหมครับ/คะ)

การทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สูงอายุที่ควรทำให้ได้มากที่สุด ถ้าให้ผู้ดูแลบริบาลทำให้ทุกอย่าง ผู้สูงอายุอาจจะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้น้อยลง

ตัวอย่าง:

Te ga todoku tokoro wa go jibun de aratte itadakemasuka? Todokanai tokoro wa tetsudaimasu ne.

(ของที่หยิบถึงจะล้างเองไหมครับ/คะ ส่วนของที่หยิบไม่ถึงจะช่วยล้างให้นะครับ/คะ)

Ushiro kara tsukaemasunode, Tachi’agatte itadakemasu ka?

(จะพยุงหลังให้นะครับ/คะ รบกวนลุกขึ้นครับ/ค่ะ)

Uwaki wo nuide itadakemasu ka? (รบกวนถอดเสื้อครับ/ค่ะ)

 

  • Nani ga attara, itsudemo yondekudasai ne. (ถ้าต้องการอะไร เรียกได้ตลอดเวลานะครับ/คะ)

วลีนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราได้อย่างมั่นใจ

 

  • 〜wo shimasu ne, yoroshii desu ka? (จะทำ 〜 ให้นะครับ/คะ สะดวกไหมครับ/คะ)

ควรกล่าววลีนี้ก่อนการดูแลผู้สูงอายุ และไม่ควรเข้าไปอย่างกะทันหัน เพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุตกใจกลัวได้

 

โดยทั่วไปแล้วประโยคเหล่านี้จะนำไปใช้สนทนากับผู้สูงอายุด้วยคำสุภาพเพื่อเป็นการแสดงความเคารพและนอบน้อมต่อคู่สนทนา

เช่น เมื่อจะพาผู้สูงอายุไปเข้าห้องน้ำ จะต้องกล่าวด้วยประโยค Tachi’agatte kudasai. (ลุกขึ้นยืนครับ/ค่ะ) หรือ Tachi’agatte itadakemasu ka? (รบกวนลุกขึ้นยืนครับ/ค่ะ) ซึ่งแม้จะมีความหมายคล้ายกัน แต่สร้างความประทับใจให้แก่คู่สนทนาไม่เหมือนกัน

Tachi’agatte kudasai. จะทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าถูกสั่งหรือบังคับ

Tachi’agatte itadakemasu ka? จะทำให้คู่สนทนารู้สึกเป็นการขอร้องอย่างสุภาพ

ฉะนั้น ควรแสดงความสุภาพในการสนทนากับผู้สูงอายุ