วลีภาษาญี่ปุ่นที่มักใช้ในบทสนทนาระหว่างเพื่อนร่วมงานผู้บริบาล

วลีภาษาญี่ปุ่นที่มักใช้ในบทสนทนาระหว่างเพื่อนร่วมงานผู้บริบาล

ในสถานที่ปฏิบัติงานของผู้บริบาลจะมีคำศัพท์เฉพาะทางและวลีที่มักใช้ในการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานบริบาล และใช้ระหว่างการบันทึกผู้ใช้บริการ การเข้าใจถึงสภาพร่างกายของผู้สูงอายุและการรู้คำศัพท์เฉพาะทางในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้บริบาลจึงมีความสำคัญมาก ในช่วงแรกอาจจะรู้สึกยากเล็กน้อย แต่ก็มาจดจำคำศัพท์และวลีต่าง ๆ เตรียมเอาไว้กันเถอะ

Contents:

วลีที่ใช้กับเพื่อนร่วมงาน

    • 「バイタルチェック」อ่านว่า “ไบตารุ เช็กกุ (มาจากคำว่า Vital Check)”

    หมายถึงการวัดสัญญาณชีพ (อุณหภูมิร่างกาย/ความดันโลหิต/การหายใจ) ผู้บริบาลจำเป็นต้องทราบถึงสภาพร่างกายของผู้สูงอายุจากการวัดสัญญาณชีพก่อนอาบน้ำทุกเช้า

    ตัวอย่างเช่น

    「 ○さんの朝のバイタルは正常です、いつもと変わりありません」

    “สัญญาณชีพตอนเช้าของคุณ○ปกติดี ไม่มีความเปลี่ยนแปลงเหมือนเดิมทุกครั้ง”

    • 「見守り」 (みまもり) (MIMAMORI) อ่านว่า “มิมาโมริ” หมายถึง การเฝ้าสังเกตดูอย่างใกล้ชิด

    แม้ว่าผู้บริบาลจะเตรียมพร้อมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุได้ในทันทีเสมอ แต่สำหรับเรื่องที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ก็จะให้เจ้าตัวปฏิบัติด้วยตัวเอง แต่ผู้บริบาลจะคอยเฝ้าสังเกตสภาพการณ์ของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดการล้มคว่ำ

    ตัวอย่างเช่น

    「○さんは、歩くときにふらつくことがあるので、見守りをしましょう」

    “คุณ○มักเดินเซ ไปเฝ้าดูกันเถอะ”

    • 「処置」 (しょち) (SHOCHI) อ่านว่า “โชะจิ”

    หมายถึงการรักษาพยาบาลต่าง ๆ เช่น การทายาหรือฆ่าเชื้อบนร่างกายในส่วนที่จำเป็นจากการบาดเจ็บหรือแผลกดทับ เป็นต้น จะใช้พูดตอนแจ้งอาการเมื่อขอรับการรักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่พยาบาล

    ตัวอย่างเช่น

    「腕に傷があるので、看護師に処置をしてもらいましょう」

    “เนื่องจากมีแผลที่แขน ไปขอให้เจ้าหน้าที่พยาบาลรักษากันเถอะ”

    • 「失礼します」 (しつれいします) (SHITSUREI SHIMASU) อ่านว่า “ชิสึเร ชิมาซุ”

    「失礼しました」 (しつれいしました)  (SHITSUREI SHIMASHITA) อ่านว่า “ชิสึเร ชิมาชิตะ”

    เป็นวลีที่ใช้พูดเมื่อจะเข้าห้องผู้สูงอายุ หรือใช้พูดก่อนและหลังตอนช่วยพยุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องนั่งเล่นจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้สูงอายุ จะต้องพูดออกเสียงก่อนเข้าห้องเสมอ

    ตัวอย่างเช่น

    「失礼します。◯さん、お部屋に入らせていただきます」

    「ขออนุญาตค่ะ/ครับ ขอเข้าห้องของคุณ◯นะคะ/ครับ」

     

    นอกจากนี้

    แม้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของผู้สูงอายุ ก็ควรรายงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนร่วมงานบริบาลด้วย เช่น

    「○さんは、部屋で休んでいます」

    “คุณ○ กำลังพักผ่อนอยู่ที่ห้อง”

    「○さんは、食事を残したので、体調に気をつけてください」

    “คุณ○ทานอาหารไม่หมด ช่วยระวังเรื่องสภาพร่างกายด้วยนะ”

    「◯さんは、顔色が悪いので体調の変化に気をつけ、観察してください」

    “เนื่องจากคุณ○มีอาการหน้าแดง ช่วยสังเกตอาการและระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายด้วย”

 

คำศัพท์เฉพาะทางที่ควรจำในงานบริบาล

ในสถานที่ปฏิบัติงานของผู้บริบาลจะมีคำศัพท์เฉพาะทางที่มักใช้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานบริบาล และใช้ระหว่างการบันทึกผู้ใช้บริการ การเข้าใจถึงสภาพร่างกายของผู้สูงอายุและการรู้คำศัพท์เฉพาะทางที่มักใช้ร่วมกันในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้บริบาลจึงมีความสำคัญมาก แม้ว่าจะมีตัวอักษรคันจิที่ยากสักหน่อย แต่ก็มาลองอ่านออกเสียงคำเหล่านั้นกันเถอะ

  • ケアプラン (CARE PLAN) อ่านว่า “เค-อะ-พุ-รัน” : หมายถึงแผนงานบริบาล เป็นการเขียนระบุเกี่ยวกับจุดประสงค์ ความถี่ และประเภทของการบริการด้านบริบาลที่ผู้สูงอายุเข้ารับโดยจะอยู่ภายใต้ความต้องการของผู้สูงอายุหรือครอบครัวของผู้สูงอายุว่าต้องการดำเนินชีวิตอย่างไร จะมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนแผนงานบริบาลเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ และจะดำเนินการบริการด้านบริบาลโดยยึดตามแผนงานบริบาลนี้เป็นหลัก

 

  • 受診 (JUSHIN) อ่าน “จุชิน” : หมายถึงการเข้ารับตรวจโดยแพทย์ จะมีกรณีที่มีแพทย์มาตรวจเยี่ยมที่สถานบริบาล และมีกรณีที่ผู้สูงอายุเดินทางไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลกับเจ้าหน้าที่หรือครอบครัวด้วย

 

  • 水分補給 (SUIBUN HOKYU) อ่านว่า ซุยบุง โฮคิว : หมายถึงการรับน้ำหรือของเหลวที่จำเป็นต่อร่างกายผ่านทางอาหารหรือเครื่องดื่ม เนื่องจากผู้สูงอายุจะไม่ค่อยรู้ตัวต่ออาการคอแห้งหรือกระหาย จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำหรือของเหลวอยู่เรื่อย ๆ

 

  • 体位変換 (TAII HENKAN) อ่านว่า “ไทอิ เฮงคัง” : หมายถึงการเปลี่ยนท่าของผู้ที่ไม่สามารถพลิกตัวหรือหันตัวได้ด้วยแรงของตัวเอง หากผู้สูงอายุนอนในท่าเดิมแบบนั้นเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการแผลกดทับ

 

  • 着脱 (CHAKUDATSU) อ่านว่า “ชะคุดะสึ”:  หมายถึงการสวมหรือถอดเสื้อผ้า

 

  • 発熱(HATSUNETSU)อ่านว่า “เน็ปปะสึ”: หมายถึงอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติเนื่องจากอาการป่วยหรือสภาพร่างกายไม่ดี โดยทั่วไปอุณหภูมิร่างกายสูง จะอยู่ที่ 37.5 องศาขึ้นไป แต่เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายปกติแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกัน จึงต้องระมัดระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายในกรณีที่อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติด้วย

 

  • ベッドメイキング(BED MAKING) อ่านว่า “เบ็ดโดะ เมกิงกุ” : หมายถึงการเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม (ที่นอน) หรือปลอกหมอน เป็นต้น การเปลี่ยนเครื่องนอนเป็นประจำมีความจำเป็นต่อการช่วยรักษาความสะอาด และช่วยเรื่องการนอนหลับของผู้สูงอายุ

 

  • 面談(MENDAN) อ่านว่า “เม็นดัน” : หมายถึงการพูดคุยปรึกษาหารือเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ครอบครัวและการบริบาลโดยเจ้าหน้าที่ผู้บริบาล เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับสภาพสุขภาพ สภาพการใช้ชีวิตประจำวัน เรื่องที่ลำบากในการใช้ชีวิต หรือความต้องการในการใช้ชีวิต เป็นต้น จะมีการดำเนินการพูดคุยหารือกันเป็นประจำไม่ใช่เพียงแค่ก่อนเข้าสถานบริบาลเท่านั้น แต่รวมไปถึงตอนพิจารณาปรับปรุงแผนงานบริบาลและตอนอื่น ๆ ด้วย

 

  • 配膳(HAIZEN) อ่านว่า “ไฮเซ็น”: หมายถึงการจัดโต๊ะอาหาร การจัดโต๊ะอาหารให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถทานอาหารได้ง่ายก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ตำแหน่งของภาชนะหรือตะเกียบ เป็นต้น

 

เนื่องจากเราแนะนำลิงก์รวมคำศัพท์เฉพาะทางที่สรุปคำศัพท์งานบริบาลด้วย

เชิญศึกษาดูได้

〇Care welfare for non-Japanese people Terminology