เมื่อคุณมาจากต่างประเทศและได้มาทำงานดูแลที่ญี่ปุ่น สิ่งที่คุณทั้งหลายอาจกังวลคือเรื่องการสื่อสารกับคนญี่ปุ่น และในการทำงานของอาชีพผู้ดูแลนั้น การสื่อสารคืองานที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ในครั้งนี้เราก็มาสัมภาษณ์คนญี่ปุ่นที่ทำงานร่วมกับคนต่างชาติที่เป็นพนักงานดูแลกัน
Contents:
โปรดชมภาพวิดีโอที่ได้ทำการสัมภาษณ์จริงไปพร้อมกัน
เราจะสรุปใจความที่ได้ถามกับพนักงานญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีคนต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศมาทำงานกัน โปรดชมภาพวิดีโอสัมภาษณ์ไปพร้อมกัน
〇คุณโยชิดะที่ทำงานในจังหวัดโทคุชิมะร่วมกับคุณนูลและคุณไฟซาลผู้มาจากประเทศบังกลาเทศ
〇คุณอิดะที่ทำงานในจังหวัดอิบารากิร่วมกับคุณโอกี้และคุณชูเล่ผู้มาจากประเทศมองโกเลีย
〇คุณคุโบตะที่ทำงานในจังหวัดนางาซากิร่วมกับคุณซิตูมินีแลคุณอาชินีผู้มาจากประเทศศรีลังกา
〇คุณมุราคามิที่ทำงานในจังหวัดอิบารากิร่วมกับคุณต้าผู้มาจากประเทศไทย
โปรดบอกข้อดีที่คุณได้ลองทำงานร่วมกับพนักงานต่างชาติให้กับเราหน่อย
(คุณโยชิดะ) ในช่วงแรกนั้นพวกเขาพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ค่อยได้ และไม่ค่อยเข้าใจกันสักเท่าไหร่ ดิฉันจึงพยายามตั้งใจบอกพวกเขาให้ง่าย ๆ ที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะได้เข้าใจกันค่ะ เนื่องจากพวกเราทำงานร่วมกันโดยที่ตัวดิฉันเองก็ใส่ใจในความเป็นผู้นำของดิฉันด้วย สิ่งนี้ก็ช่วยให้ดิฉันรู้สึกเติบโตขึ้นเหมือนกันครับ
(คุณอาราอิ) พวกเขาสองคนขยันกันมาก มีรอยยิ้มให้ดิฉัน และเวลาที่แนะนำอะไรไปเขาก็จะพูดว่า “ขอโทษครับ ผมพลาดไป!!” เพราะพวกเขาตอบสนองประมาณนั้น ฉันเลยรู้สึกดีมากที่ได้ทำงานร่วมกันกับพวกเขาค่ะ
(คุณอิดะ) ดิฉันก็รู้สึกเช่นเดียวกัน พวกเขาร่าเริงแจ่มใสมาก เวลาที่พวกเขาขึ้นมาถึงชั้นก็จะทักทายอย่างร่าเริงว่า “สวัสดีตอนเช้าครับ !” ด้วย ทำให้คุณลุงคุณป้าที่มาพักอาศัยต่างพากันยิ้มแย้มและจำกันว่า “มีเด็กร่าเริงมาทำงานด้วยแล้วนะ” เลยค่ะ พวกเขาร่าเริงแจ่มใจและขยันหมั่นเพียร พวกเขาเรียนหนักมากในระหว่างที่ไม่มีใครเห็น ดิฉันว่าดีมากเลยเพราะทำให้ดิฉันย้อนมองกลับมาที่ตัวเองว่าฉันเองก็ต้องพยายามบ้างแล้วน่ะค่ะ
(คุณคุโบตะ) ในช่วงสันทนาการนั้นได้กลายเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ทำให้ผู้รับบริการตั้งใจฟังเรื่องราวกันมากเหมือนกัน
(คุณมุราคามิ) เขาเป็นคนร่าเริงมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ในเรื่องการงานและการเรียนเขาก็ตั้งใจมากด้วย ทำให้ฉันรู้สึกว่าฉันก็ต้องทำตามบ้างแล้วล่ะเลยค่ะ
คุณพนักงานญี่ปุ่นทั้งหลายสื่อสารกับพนักงานต่างชาติอย่างไรเหรอ ? หากมีอะไรที่ใส่ใจระหว่างสื่อสารกับพวกเขา โปรดบอกได้เลย
(คุณโยชิดะ) ปกติแล้วเราจะสื่อสารกันโดยใช้ภาษาญี่ปุ่นค่ะ แต่ก็ตั้งใจที่แสดงท่าทางและใช้ภาษาอังกฤษนิด ๆ หน่อย ๆ ร่วมไปด้วย
(คุณอิดะ) เนื่องจากพวกเราเข้าใจภาษากัน ทำให้ดิฉันเผลอพูดเร็วไป ทำให้พวกเขาฟังไม่ทัน ดิฉันจึงพยายามพูดอย่างช้า ๆ โดยดูสายตาและอาการของพวกเขาค่ะ
(คุณอาราอิ) เหมือนที่คุณอิดะพูดเลยค่ะ คือพูดช้า ๆ และถ้าเผลอพูดยาว ๆ จะทำให้ไม่เข้าใจ ดิฉันจึงพยายามพูดคุยให้เป็นประโยคง่าย ๆ สั้น ๆ ค่ะ และก็พูดคุยโดยแสดงท่าทางพร้อมกับสังเกตุเขาว่า “เขาเข้าใจหรือเปล่านะ” ไปด้วยค่ะ
(คุณคุโบตะ) พูดช้า ๆ เพื่อให้ฟังได้ง่าย หากมีคำศัพท์ยาก ๆ หรือคำเฉพาะทางก็จะอธิบายคำนั้นอย่างละเอียดให้เข้าใจค่ะ
(คุณมุราคามิ) ปกติแล้วจะคุยกันด้วยภาษาญี่ปุ่นค่ะ ฉันจะค่อยสังเกตุอาการของเขาไปพร้อมกับสังเกตุสีหน้าของเขาว่าเข้าใจหรือเปล่าค่ะ ในบางครั้งที่เขาบอกว่า “เข้าใจค่ะ” ฉันก็จะพยายามตรวจสอบว่าเข้าใจจริง ๆ หรือเปล่าโดยให้เขาทวนสิ่งที่ฉันพูดค่ะ แล้วก็พยายามพูดอย่างช้า ๆ เพื่อให้เข้าฟังได้ง่าย ๆ ค่ะ
หากมีเรื่องราวน่าประทับใจเกี่ยวกับพนักงานต่างชาติ ในระหว่างพูดคุยเรื่องทั่วไปหรือระหว่างทำงาน โปรดบอกพวกเราหน่อย
(คุณโยชิดะ) พื้นฐานแล้วพวกเขาจะสังเกตุและจำทีละอย่าง ๆ ไป ซึ่งพวกเขาสังเกตุและจำได้รวดเร็วมากจนฉันตกใจเลยค่ะ
(คุณอาราอิ) จากที่เคยได้เล่าไปในคำถามที่หนึ่งเมื่อสักครู่ว่าพวกเขาขอบคุณได้ และก็ขอโทษโดยพูดว่า “ขอโทษครับ” ได้ ซึ่งมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย พอได้เข้าหากันกับพวกเขาตลอดเลยทำให้ดิฉันรู้สึกดีค่ะ เขากันเรียกว่า “ประทับใจในทางที่ดี” หรือเปล่านะคะ เพราะงั้นถ้าเป็นไปได้จริง ๆ ดิฉันก็อยากจะให้พวกเขาอยู่ที่นี่ต่อเลยค่ะ ได้มาทำงานร่วมกัน ก็มีความสุขดีค่ะ
(คุณอิดะ) ตอนที่พวกเขาคุยกับพนักงานที่เข้ามาทำงานหรือ ผู้ที่เข้ามาพักอาศัยก็จะคุยกันสนุกสนานมีเสียง “ว้าว” ทำให้มีการพูดคุยกันบ่อยขึ้น และเห็นรอยยิ้มมากขึ้นค่ะ บรรยากาศในสถานที่นั้นดูสดใสขึ้นมาเลยล่ะค่ะ
(คุณคุโบตะ) ที่ประเทศศรีลังกามีวัฒนธรรมอาหารที่เป็นแกงกะหรี่ ตอนที่มีการทำข้าวแกงกะหรี่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันทนาการ ได้ขอให้เด็กฝึกงานช่วยทำแกงดาลของประเทศศรีลังกาให้ แล้วให้ผู้รับบริการทานค่ะ แม้ดิฉันจะคิดว่าคนญี่ปุ่นคงไม่ชินกับรสชาตินี้สักเท่าไหร่ แต่ดิฉันจำได้ดีเลยว่าผู้รับบริการทุกคนต่างทานแล้วชมกันว่า “อร่อยจัง”
(คุณมุราคามิ) เขาพูดคุยอย่างร่าเริงแจ่มใจอยู่ตลอดเลยค่ะ ฉันประะทับใจที่เขามักจะพูดคุยอย่างยิ้มแย้มเวลาที่พูดคุยกับคุณผู้มาอาศัย และเวลาที่พูดคุยกับพนักงานด้วยกันค่ะ
ผลตอบรับหรือเสียงตอบรับจากผู้รับบริการสถานที่ ต่อพนักงานต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง
(คุณโยชิดะ) พวกเขาจะชวนคุยอยู่บ่อยครั้งเพื่อจะได้จำภาษาญี่ปุ่นได้ค่ะ เหมือนพวกเขาจะชื่นชอบที่ได้พูดคุยกับพนักงานและผู้รับบริการค่ะ และก็มีเสียงตอบรับจากผู้รับบริการว่า พวกเขาดีใจที่ได้มาพูดคุยกันด้วยค่ะ
(คุณอิดะ) ได้เสียงตอบรับมาอย่างตรงไปตรงมาว่า “ร่าเริงจังเลย” แล้วก็ “พูดภาษาญี่ปุ่นเก่งจังเลย”, “พยายามได้ดีเลยนะ” ค่ะ
(คุณอาราอิ) ใช่เลยค่ะ ตรงที่พูดว่า “พยายามได้ดีเลยนะ” ดิฉันว่าในมุมมองของผู้รับบริการเองพวกเขาก็เห็นและรับรู้ได้ด้วย เพราะฉะนั้นการที่ได้รับเสียงตอบรับว่า “พยายามได้ดีเลยนะ” เนี่ยน่าจะส่งไปถึงคุณโอกี้และคุณชูเล่เช่นเดียวกันค่ะ
(คุณคุโบตะ) แม้ช่วงแรกจะมีผู้รับบริการบางท่านรู้สึกกลัว ๆ แต่เพราะเด็กฝึกงานเข้ามาพูดคุยอย่างอ่อนโยน ตอนนี้เลยมีผู้รับบริการบางคนที่รอการมาทำงานของพวกเขาเหมือนกันค่ะ
(คุณมุราคามิ) ไม่มีเสียงตอบรับว่าไม่ชอบหรือมีมาร้องเรียนอะไรเป็นพิเศษเลยค่ะ คงเพราะเขาพูดคุยอย่างสุภาพและร่าเริงจึงทำให้ทุกคนทั้งผู้รับบริการและพนักงานคนญี่ปุ่นรู้สึกวางใจได้ค่ะ