ชีวิตประจำวันของผู้บริบาล

ชีวิตประจำวันของผู้บริบาล

เมื่อมาทำงานที่ญี่ปุ่นในฐานะผู้บริบาลจะใช้ชีวิตอย่างไรในแต่ละวัน จะทำงานอะไรกันบ้าง เราได้ไปสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ทำงานด้านดูแลบริบาลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในฐานะผู้บริบาล สถานบริบาลบางแห่งอาจให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงจึงต้องมีการทำงานในกะกลางคืนบ้างขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ทำ แต่ถึงอย่างนั้น ในเวลาว่างจากการทำงานที่ยุ่งวุ่นวายทุกคนก็ยังคงศึกษาวิชาการดูแลบริบาลและภาษาญี่ปุ่นอยู่เป็นประจำ

Contents:

ตารางเวลาในหนึ่งวัน [1]

ผู้บริบาลส่วนส่วนใหญ่จะเริ่มงานกันเวลา 8.30 น. และเลิกงานเวลา 17.30 น. ในที่ทำงานบางแห่งมีการแบ่งเวลากันเป็นรอบเช้าและรอบบ่าย เราลองไปดูตารางเวลาในหนึ่งวันของผู้บริบาลกัน

หนึ่งวันของคุณ J (ฟิลิปปินส์) (กะกลางวัน)

7.30 น. ตื่นนอน

8.50 น. ตรวจสอบบันทึกในทีม ประชุมเริ่มงาน รับมอบหมายงาน

9.15 น. เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูแลเรื่องการลุกจากเตียง

10.00 น. ดูแลเรื่องการดื่มน้ำ นันทนาการ

11.00 น. เตรียมอาหารกลางวัน กรอกประวัติผู้ป่วย

11.45 น. เสิร์ฟอาหาร ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร

12.00 น. พักผ่อน (พักกลางวัน)

13.00 น. ช่วยเหลือดูแลช่องปาก ตรวจสอบการพาเข้าห้องน้ำ

14.00 น. ดูแลเรื่องการลุกจากเตียง เปลี่ยนผ้าอ้อม

15.00 น. เตรียมอาหารว่าง ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร พาเข้าห้องน้ำ

16.00 น.  กรอกประวัติผู้ป่วย เตรียมอาหารเย็น เปลี่ยนผ้าอ้อม

17.20 น. จบการทำงาน 

22.00 น. นอน

หนึ่งวันของคุณ C (เวียดนาม) (Day Service)

8.00 น. ออกจากบ้าน เดินทางโดยรถประจำทาง

8.30 น. ประชุมเริ่มงาน ต้อนรับผู้ใช้บริการ

9.30 น. วัดความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกาย ดูแลเรื่องการอาบแช่น้ำ

12.00 น. พักผ่อน (พักกลางวัน)

13.00 น. เตรียมพร้อมสำหรับผู้ใช้บริการที่จะกลับบ้าน

13.30 น. นันทนาการ

15.00 น. อาหารว่าง

15.30 น. ช่วยเหลือและพาเข้าห้องน้ำ ส่งผู้ใช้บริการ

16.30 น. เก็บกวาด ทำบันทึก

17.30 น. จบการทำงาน

18.00 น. กลับบ้าน 

งานแรกที่ทำเมื่อเริ่มทำงานในตอนเช้าคือการอ่านบันทึก เพื่อทำความเข้าใจสภาพร่างกายของผู้ใช้บริการระหว่างกะกลางวันและกลางคืน และตรวจสอบว่ามีความเปลี่ยนอะไรหรือไม่จึงจะเริ่มงานในหนึ่งวันได้ คุณ HOANG THI NGOC ANH จากเวียดนามที่ทำงานในสถานบริบาลในจังหวัดเฮียวโงะเล่าให้ฟังถึงงานที่ใช้เวลามากที่สุดในช่วงเช้าและช่วงบ่าย

“ในช่วงเช้า งานที่ต้องใช้เวลาไปมากที่สุดคือการดูแลเรื่องการขับถ่าย ทั้งการพาเข้าห้องน้ำและการเปลี่ยนผ้าอ้อม ส่วนงานที่ใช้เวลามากที่สุดในช่วงบ่ายคือการดูแลเรื่องการอาบแช่น้ำ จะใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง”

นอกไปจากนี้ ในสถานบริบาลแบบเข้าอยู่ในสถานบริบาลต้องมีการจัดการดูแลบริบาลตลอด 24 ชั่วโมงจึงมีงานในกะกลางคืนด้วย ซึ่งเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบดูแลโดยพนักงานจำนวนไม่มาก

หนึ่งวันของคุณ C (ฟิลิปปินส์) (กะกลางคืน)

16.15 น. เริ่มงาน รับมอบหมายงาน

17.15 น. เตรียมอาหารเย็น

17.45 น. ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร เก็บจาน พาเข้าห้องน้ำ

19.20 น. พักผ่อน (อาหารเย็น)

20.00 น. ดูแลเรื่องท่านอน เปลี่ยนผ้าอ้อม

20.30 น. งานกะกลางคืน (เช่น จัดทำบันทึก)

23.00 น. เฝ้าแต่ละชั้น (เช่น ดูแลหากมีการเรียกพยาบาล)

23.30 น. พักผ่อน

1.30 น. เปลี่ยนผ้าอ้อม 

3.00 น. ตระเวนตรวจตรา เปลี่ยนผ้าอ้อม

5.00 น. เตรียมอาหารเช้า ดูแลเรื่องการลุกจากเตียง

7.30 น. เสิร์ฟอาหาร ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร เก็บจาน พาเข้าห้องน้ำ

9.20 น. จบการทำงาน

[1] Mitsubishi UFJ Research and Consulting Co., Ltd., “คู่มือเกี่ยวกับการยอมรับและสนับสนุนการทำงานผู้บริบาลชาวต่างชาติ”

 

 

งานที่สนุกคืออะไร

คุณ Riswanti จากอินโดนีเซียพูดถึงงานที่สนุกไว้ดังต่อไปนี้ “ตอนที่ร้องเพลงด้วยกันแล้วได้รับคำชมว่า ร้องเพลงเพราะจัง! แล้วก็ตอนที่ได้คุยกันอย่างสนุกสนานในหัวข้อที่สนใจ เช่น ได้คุยเรื่องแมวกับผู้ใช้บริการที่ชอบแมว มีผู้ใช้บริการที่ชอบเรื่องเพลงสอนร้องเพลงให้แล้วก็ได้ร้องด้วยกัน”

นอกจากนี้ คุณ Albert Fernandez ซึ่งทำงานที่สถานบริบาลในจังหวัดโอคายามะได้บอกเคล็ดลับในการทำงานกับผู้สูงอายุให้สนุกไว้ว่า “มี 3  หัวข้อที่เอาไปพูดคุยกับผู้สูงอายุได้ดีคือ 1 สภาพอากาศ 2 อาหารการกิน และ 3 เรื่อง

การนอนหลับ ผมคิดว่าคุณสามารถทำงานได้อย่างสนุกด้วย 3 หัวข้อนี้ แถมหัวข้อเหล่านั้นยังช่วยให้เข้าใจสภาพร่างกายและสุขภาพของผู้ใช้บริการได้อีกด้วย”

ดูเหมือนว่าทุกคนจะพยายามพูดคุยสื่อสารกันอย่างดีเพื่อการทำงานที่สนุนสนานนั่นเอง

 

งานที่ยากหรือลำบากคืออะไร

ประเภทของงานที่ยากอาจแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน แต่มักได้ยินว่าการดูแลเรื่องการอาบแช่น้ำและการดูแลเรื่องการเคลื่อนย้ายเป็นงานที่ค่อนข้างลำบาก การดูแลเรื่องการอาบแช่น้ำนั้นมีความเสี่ยงอันตรายในการลื่นล้มจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และการดูแลเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถลุกด้วยตัวเองเพื่อย้ายจากเตียงมาที่รถเข็นต้องใช้ทั้งเวลาและพละกำลัง

นอกจากนี้ งานที่ต้องใช้เวลาสักระยะจึงจะสามารถทำคนเดียวตามลำพังได้ คือ งานของหัวหน้า งานกะกลางคืน และการดูแลเรื่องการอาบแช่น้ำ อย่างไรก็ตาม หากตั้งใจเรียนรู้งานอย่างจริงจัง ก็มีคนที่ได้ทำงานกะกลางคืนคนเดียวหลังผ่านไป 3 เดือน หรือคนที่บอกว่าการเรียนรู้และฝึกฝนกลไลของร่างกายก็ช่วยในการดูแลเรื่องการเคลื่อนย้ายได้ เหมือนว่าทุกคนจะสามารถข้ามผ่านงานที่ยากลำบากได้โดยการฝึกฝนและเรียนรู้

 

มีเวลาเตรียมสอบวุฒิผู้บริบาลหรือภาษาญี่ปุ่นไหม

ชาวต่างชาติที่ทำงานเป็นผู้บริบาลที่ญี่ปุ่นก็มีการทำงานอย่างหนักทุกวันเพื่อศึกษาเตรียมตัวสำหรับการสอบวุฒิผู้ดูแลบริบาลและพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่นขณะทำงานไปด้วย  คุณ HOANG THI NGOC ANH จากเวียดนามเล่าว่า “เพื่อสอบทักษะการดูแลบริบาลให้ผ่าน ฉันจึงทำการเรียนในทุกๆ วัน 2 ชั่วโมงต่อวันเป็นอย่างน้อย”

นอกจากนี้ ในสถานบริบาลแต่ละที่ที่คุณทำงานก็อาจมีการเสนอโปรแกรมการฝึกฝนต่างๆ คุณ Mr.Albert Fernandez จากฟิลิปปินส์เล่าถึงสถานบริบาลในจังหวัดโอคายามะที่เขาทำงานอยู่ว่ามี “การจัดการเรียนการสอนด้านการดูแลบริบาลโดยผู้สอนการบริบาล และการเรียนภาษาญี่ปุ่นกับคุณครูสอนภาษาญี่ปุ่นอาทิตย์ละ 1 ครั้ง”

นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่นในหนังสือเรียนแล้ว ทุกคนก็มีการพยายามเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นๆ ในระหว่างช่วงเวลาที่ยุ่งจากการทำงานอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “ฉันจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้จากการเข้าไปพูดคุยกับคนญี่ปุ่นโดยตรงและจากภาพยนตร์และอนิเมะ” “ฉันเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยหนังสือ แล้วก็การดูทีวีและการร้องเพลง ถ้ามีคันจิหรือคำศัพท์ที่ไม่รู้ก็จะจดเอาไว้และท่องจำ”