นิสัยที่ควรมีในการเป็นผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาล

นิสัยที่ควรมีในการเป็นผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาล

เราคิดว่าคุณคงจะมีความกังวลมากมายเกี่ยวกับงานดูแลบริบาลครั้งแรก เราจึงขอแนะนำสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาลชาวญี่ปุ่นใส่ใจอยู่เสมอเวลาทำงาน เราคิดว่ามีบางเรื่องที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย มาฝึกปฏิบัติเพื่อจะได้คุ้นเคยกับงานดูแลบริบาลได้เร็วยิ่งขึ้นกันเถอะ

จดบันทึกหมั่นสังเกตถามคำถามโดยไม่ลังเล

Contents:

จดบันทึก

ผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาลเวลาทำงาน จะพกปากกาและสมุดจดส่วนตัวติดตัวอยู่เสมอเพื่อให้คอยจดบันทึกได้ตลอดเวลา
เพราะว่าจะมีโอกาสมากมายให้จดบันทึกได้ตลอดทั้งวัน
ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ มีข้อความฝากมาจากครอบครัวของผู้สูงอายุ ฯลฯ แม้ว่าสภาพร่างกายจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่คุณก็สามารถจดบันทึกเกี่ยวกับอาหาร ปริมาณน้ำ ฯลฯ ในทุก ๆ วันเพื่อการดูแลจัดการด้านสุขภาพได้
การจดบันทึกทำเพื่อให้ตัวเราเองสามารถจดจำและถ่ายทอดข้อมูลให้เจ้าหน้าที่คนอื่นได้อย่างถูกต้อง
มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการดูแลบริบาลให้เหมาะสมตามสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
เราอาจไม่ค่อยได้จดบันทึกในชีวิตประจำวันตามปกติ แต่จากนี้ไป เราจะสร้างนิสัยให้คุ้นเคยกับการจดบันทึกได้ เช่น การจดสิ่งที่ไม่เข้าใจในขณะเรียน

 

หมั่นสังเกต

ผู้สูงอายุจำนวนมากมักไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายเนื่องจากอาการเจ็บป่วยหรือภาวะสมองเสื่อม แล้วถึงแม้จะสังเกตเห็นแต่ก็ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดได้
ด้วยเหตุนั้นเอง จึงต้องให้ผู้ปฏิบัติงานดูแลบริบาลคอยหมั่นสังเกตว่า ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ หรือสีหน้าดูซีดเซียวหรือไม่ มาสร้างนิสัยในการหมั่นสังเกตเพื่อให้รู้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายหรือความรู้สึกของผู้สูงอายุกันเถอะ

 

ถามคำถามโดยไม่ลังเล

เราคิดว่าเวลาที่ทำงาน คุณอาจมีช่วงเวลาที่เกิดความสับสนว่าควรจะต้องทำอย่างไรดี

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้สูงอายุมีการไหว้วานที่แตกต่างไปจากปกติ เช่น “อยากทำ〜” “อยากกิน〜” หรือ “อยากกินยา〜” ในสถานการณ์เช่นนี้ขอให้อย่าตัดสินใจด้วยตัวเองและอย่าลังเลที่จะถามเจ้าหน้าที่คนอื่นแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม เพราะมันจะนำไปสู่การปกป้องดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ มาสร้างนิสัยในการถามคำถามโดยไม่ต้องอายหากไม่เข้าใจกันเถอะ